ReadyPlanet.com


ปรึกษาปัญหา คนใช้เครื่องคอม


ลูกชาย วัย 7ปี และ 12ปี   ติดเกมส์ คอมมากเลยค่ะ



ผู้ตั้งกระทู้ Qwe :: วันที่ลงประกาศ 2012-05-20 20:46:49


ก่อนหน้า1ถัดไป

ความคิดเห็นที่ 1 (1490645)

 

ขอแสดงความคิดเห็นอีกคนคะ  เรื่อง “ปรึกษาปัญหาเจ้าของเครื่องคอม”
 
        เชื่อว่าพ่อแม่จำนวนมาก ต้องเสียงแหบเสียงแห้งทุกครั้งเวลาบอกให้ลูกเลิกเล่นเกม เพราะบางคนเล่นตั้งแต่หลังเลิกเรียนยันดึก อดข้าว ไม่ยอมทำการบ้าน ซึ่งหลาย ๆ ครั้งต้องตำหนิ และดุว่า เพราะลูกไม่ยอมเชื่อฟัง  
 
ระดับของการเล่นเกมของเด็ก ๆ น่าจะแบ่งได้เป็น  3 ระดับคะ
1. เด็กชอบเกม  จะมีพฤติกรรมชอบเล่นเกมที่ชอบแต่สามารรถควบคุมตัวเองได้ดี
2. ส่วนเด็กหมกมุ่นนั้น  จะมีลักษณะที่การสนใจในเรื่องเกมมาก พูดแต่เรื่องเกม อยากจะเล่น อยากจะคิดแต่เรื่องนี้ แต่ยังควบคุมตัวเองได้
3. เด็กติดเกม  จะไม่สามารถจะควบคุมตัวเองได้เลย และมักมีอาการติด เล่นเยอะจนเสียสุขภาพหรือเสียการเรียนไปเลย โดยต้องการเวลาเล่นเยอะ ๆ และถ้าไม่ได้เล่นจะมีอาการหงุดหงิด ฉุนเฉียว ก้าวร้าว เวลาเล่นก็จะอยากเล่นมากขึ้นเรื่อย ๆ แล้วก็ไม่สามารถจะคุมตัวเองได้เลย
 
มีผลในด้านลบ  (ในด้านดีก็มีแต่ไม่ได้พูดถึงนะคะ เพราะตอนนี้เราคุยกันเรื่อง เด็กติดเกม หรือ เด็กเล่นเกมมากเกินไป)
"เด็กที่ติดเกมสมาธิจะแย่ลง เพราะอยู่กับเกมมันสนุก เกมช่วยกระตุ้น   ทำให้เด็กเกิดความเคยชินกับภาพ และสิ่งเล้า ต่างๆ ที่ทำให้ต้องคิดเร็วทำเร็ว    พอหยุดเล่นไปเรียนหนังสือสมาธิหมด  ไม่มีอะไรกระตุ้น เพราะเวลาเรียนหนังสือ ครูอธิบายเด็กจะรู้สึกว่าช้ามันน่าเบื่อ พอเบื่อทำให้ไม่อยากเรียน ก็ไม่รู้เรื่องแล้ว ไม่ออกไปสังคมกับใคร จะไปไหนก็ไม่ยอมไปด้วย ยินดีเฝ้าบ้าน เพื่อจะได้เล่นเกม ซึ่งครอบครัวไหนที่ลูกเล่มเกมนานกว่า 2ชั่วโมง/วัน ควรจะต้องระวัง"
 
ส่วนใหญ่พ่อแม่จะดุว่า โกรธ    ไม่ควรทำ  ซึ่งแต่ละประโยคจะมุ่งไปที่การกระทำของลูก มักแฝงความรู้สึกด้านลบ คุกคาม และตำหนิ มักจะเป็นประโยคที่มีอารมณ์เข้าไปร่วม ไม่พอใจ จะมีการเหน็บแนม ล้วนเป็นคำที่มีอารมณ์โกรธร่วมด้วย  ซึ่งความจริงเนื้อหาเหมือนกันแต่อารมณ์ไม่เหมือนกัน หากผู้ใหญ่ใช้อารมณ์โกรธเด็กก็จะสวนกลับมาเพื่อป้องกันตนเอง อาจเกิดการปะทะกัน เช่น  “ลูกยังไม่หยุดเล่นเกมอีกเหรอ นี่มันสามทุ่มแล้ว ลูกนี่แย่จังเลยที่ไม่ทำตามข้อตกลง"
 
วิธีแก้ ลองดูนะคะ
 เด็กวัยนี้ ต้องใช้เหตุผล การพูดคุยกัน เป็นทางออกที่ดีที่สุด ช่วยสร้างความรู้สึกนุ่มนวล น่าฟัง ให้ผลด้านบวก แสดงถึงความต้องการของพ่อแม่ที่มีต่อลูกมากกว่า ซึ่งบ่งบอกถึงความรู้สึก และเหตุผลแทนการใช้อารมณ์ และการออกคำสั่ง ทำให้เด็ก ๆ หรือผู้ฟังรู้สึกคล้อยตาม รู้สึกมีคุณค่า รับรู้ได้ถึงความรู้สึกห่วงใยจากพ่อแม่ อีกทั้งยังช่วยหลีกเลี่ยงจากการปะทะทางอารมณ์ระหว่างผู้ปกครองกับเด็กได้อีกด้วย
 
 ยกตัวอย่าง
ให้เห็นภาพง่าย ๆ เช่น "แม่อยากให้ลูกปิดคอมพิวเตอร์แล้วเข้านอนไว ๆ" นี่คือความต้องการของแม่ ตามด้วยประโยคที่แสดงถึงความรู้สึก เช่น "เพราะแม่กลัวว่าพรุ่งนี้ลูกจะตื่นไม่ไหว" นี่คือความรู้สึกและเหตุผล หรือบางครั้งลูกอาจเล่นเกมแล้วเกินเวลาที่กำหนดไว้ เป็นการบอก หรือเตือน เช่น "ตอนนี้เลยเวลามา 5 นาทีแล้วนะ แม่อยากให้ลูกทำตามข้อตกลง"
 
อย่างไรก็ดี คุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญกับเวลา ในการเล่นเกมของลูกโดยมีการตั้งข้อตกลงร่วมกันในการเล่นเกม เช่น กำหนดระยะเวลาในการเล่นวันละ 1 ชั่วโมง โดยจะเล่นเกมหลังจากทำการบ้าน หรือ... เสร็จเรียบร้อยแล้ว และจะต้องเข้านอนไม่เกิน 1 ทุ่มทุกคืน ก็จะช่วยทำให้เด็กได้มีขอบเขต และระยะเวลาในการเล่นมากขึ้น
 
 บางกรณีที่เด็กเล่นเกินเวลาพยายามอย่าเพิ่งไปปะทะกับเด็ก ด้วยการดุว่า  อย่างพ่อแม่บางคนเมื่อเห็นลูกเล่นเกมเกินเวลาที่กำหนดไว้ก็รีบเดินเข้าไปถอดปลั๊กทันที ตำหนิ หรือดุด่าเด็กที่เล่นเกินเวลา และไม่ทำตามข้อตกลง ไม่รักษาสัญญา วิธีการนี้เด็กอาจเกิดการต่อต้าน ไม่เชื่อฟังและทำตาม เด็กอาจแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวจนบางครั้งเกิดการปะทะกันได้"

                                                                                                              

                          ขอเป็นกำลังใจให้คุณพ่อคุณแม่ ที่กำลังประสบปัญหานี้ด้วยนะคะ

ผู้แสดงความคิดเห็น Mother วันที่ตอบ 2012-05-20 21:51:25


ความคิดเห็นที่ 2 (1491950)

ดีมากๆเลย ถูกใจเพราะว่ามีคนเป็นอยู่

ผู้แสดงความคิดเห็น จิวรี่ วันที่ตอบ 2012-05-25 19:58:06



ก่อนหน้า1ถัดไป


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล



ขอบคุณสําหรับคําติชมทุกข้อความ